ประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทย ผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นั้น ได้สร้างความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะความเสียหายทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีการกล่าวกันว่าวิกฤตครั้งนี้จะเป็นมหาวิกฤตที่รุนแรงมากกว่าวิกฤตต้มยำกุ้ง 

จึงอยากจะขอนำทุกท่านไปสำรวจดูว่า สถานการณ์ประเทศไทยในยุคหลังโควิด-19 จะเป็นอย่างไร ภาพรวมงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 หลังคณะรัฐมนตรีปรับปรุงงบประมาณครั้งที่ 2 จะมีหน้าตาอย่างไร และมีข้อสังเกตอะไรบ้าง รวมถึงข้อเสนอในการจัดงบประมาณปี 2564 รูปแบบใหม่ ในแบบฉบับของพรรคก้าวไกล เพื่อตอบโจทย์ประเทศไทยหลังโควิด-19

สถานการณ์ภาพรวมประเทศไทยหลังโควิด-19 

A picture containing sitting, monitor, screen

Description automatically generated

การระบาดของโควิด-19 เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ และก็ไม่เหมือนกับทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด คือ กลุ่มคนระดับรากหญ้า ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า วิกฤตครั้งนี้จะส่งผลให้มีคนจนเพิ่มขึ้นจาก 6.7 ล้านคน เป็น 18.9 ล้านคน 

A screen shot of a computer

Description automatically generated

หากสถานการณ์รายได้ของประชาชนยังไม่ดีขึ้น จะทำให้มีคนว่างงานเพิ่มขึ้นปกติปีละ 4 แสนคน เป็น 2 ถึง 7 ล้านคน รวมถึงหนี้ครัวเรือนก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เพราะ เมื่อรายได้ของคนลดลงทางออกทางเดียวที่จะสามารถมีเงินมาจับจ่ายใช้สอยได้ก็คือ การกู้หนี้ยืมสิน เฉพาะหนี้สินที่อยู่ในระบบจะเพิ่มขึ้น 1 ล้านล้านบาท และแน่นอนว่าความสามารถที่จะชำระหนี้คืนได้ก็จะลดลง ทำให้เกิดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 

สำหรับหนี้ครัวเรือนก็จะเพิ่มขึ้นจาก 6% เป็น 10% ในภาพรวมวิกฤตครั้งนี้ได้ทำให้ชนชั้นกลางหดตัวลง คนชั้นล่างเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้นด้วย ไม่ใช่แค่เฉพาะในภาคครัวเรือนแต่ในภาคเศรษฐกิจก็เช่นเดียวกัน เรามี SMEs ที่เสี่ยงจะปิดตัวลงมากถึง 26% และยังคงมีคนรอคอยมาตรการต่าง ๆของธนาคารเเห่งประเทศไทยที่จะช่วยชะลอการชำระหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ถึง 15 ล้านราย แน่นอนว่าปัญหาเศรษฐกิจไทยไม่ได้เกิดขึ้นหลังวิกฤตโควิด-19  เท่านั้น

ถ้าเราเปรียบเศรษฐกิจไทยเหมือนกับเรือแป๊ะ เราเป็นเรือแป๊ะที่แล่นเอื่อยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ด้วยปัญหาสงครามการค้า ภัยเเล้ง ซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่สามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ ดังนั้น พอมาเจอวิกฤตโควิด-19 จึงเหมือนกับเจอ Perfect Storm เหมือนกับพายุลูกใหญ่ซัดเข้าใส่เรือแป๊ะ ทำให้ตอนนี้เราต้องมาปรับกระบวนทัศน์กันใหม่ ปรับยุทธศาสตร์ทั้งหมด เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเดินไปข้างหน้าใหม่ 

ถ้ายังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าเราจะนำประเทศ นำเศรษฐกิจไทยไปในสู่ยุคหลังโควิด-19 อย่างไร ก็เหมือนกับเราปล่อยให้เรือแป๊ะที่พึ่งโดนพายุซัด เดินหน้าต่อไปอย่างไร้ทิศทาง 

พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีการออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเเก้ไขปัญหา และเยียวยาผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ออกมาอย่างต่อเนื่อง รัฐสภาอนุมัติ พ.ร.ก. 3 ฉบับ ช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ได้แก่ 1. พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  พ.ศ. 2563 หรือ พรก.เงินกู้ วงเงินไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท  2. พ.ร.ก.การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท และ 3. พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. 2563 วงเงินไม่เกิน 4 แสนล้านบาท 

แต่ในความเป็นจริงเม็ดเงินที่ถือว่าเป็นงบประมาณช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ช่วยเหลือผู้ประกอบการมีเพียงแค่ 1 ล้านล้านบาทเท่านั้น เรียกว่า เป็นมาตราการทางการคลัง ส่วนอีกสองฉบับที่เป็น พ.ร.ก. ช่วยเหลือ SMEs และ กองทุนพยุงหุ้นกู้ เป็นการให้ยืมเงินซึ่งจะต้องจ่ายเงินคืน

A close up of a logo

Description automatically generated

คำถามคือ ถ้าเราดูประเทศต่างๆ ในโลก ว่าใช้จ่ายเงินผ่านทางนโยบายทางการคลัง เพื่อเเก้ปัญหาโควิด-19 ไปเท่าไรบ้าง จะพบว่า ประเทศต่างๆ อัดฉีดงบประมาณอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือเเก้ไขปัญหาของโควิด-19 เช่น ประเทศญี่ปุ่นที่อัดฉีดเม็ดเงินเพิ่ม 21% ของ GDP ประเทศสิงค์โปร 13% อินโดนีเซียน้อยลงมาอยู่ที่ประมาน 7% 

สำหรับประเทศไทย ถ้าเรานับโดยเฉพาะมาตราการ 1 ล้านล้านบาทนั้น จะคิดเป็นแค่ 6% ของ GDP เท่านั้น และไม่เพียงพอต่อการนำมาใช้เเก้ปัญหาเศรษฐกิจหลังจากนี้

นอกจากนี้ยังมีเม็ดเงินอีกอย่างน้อยสองก้อนในการช่วยเหลือเยียวยาเเก้ปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  คือ 1. พ.ร.บ. โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563  ซึ่งงบประมาณในส่วนนี้จะไปเพิ่มในงบกลางเงินสำรองใช้จ่ายฉุกเฉินจำเป็นที่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการ แต่ทว่าในส่วนนี้ก็อาจจะไม่ได้ใช้ไปเพื่อการเเก้ปัญหาโควิด-19 แต่เพียงอย่างเดียว เพราะว่า เมื่อเป็นงบกลางแล้ว นายกรัฐมนตรีมีอำนาจใช้ในกิจการอื่นเช่นเดียวกัน 

และ 2. พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีเม็ดเงินรวมถึง 3.3 ล้านล้านบาท แต่ในความเป็นจริงงบประมาณที่จะนำมาใช้ได้นั้นน้อย เนื่องจากในจำนวน 3.3 ล้านล้านบาท นี้ มีค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถตัดออกได้ ไม่ว่าจะเป็นงบบุคลากรภาครัฐ 1.2 ล้านล้านบาท คือ ใช้ในเงินเดือนข้าราชการ เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลข้าราชการ เงินเลื่อนตำเเหน่ง เงินชดเชยต่างๆ รวมแล้วเกือบ 40 % 

และยังมีค่าใช้จ่ายสวัสดิการต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดให้รัฐบาลต้องทำ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ เบี้ยยังชีพ เบี้ยคนพิการ ซึ่งไม่สามารถที่จะตัดทิ้งได้เช่นเดียวกัน รวมถึงเงินที่จะต้องเอาไปใช้คืนหนี้เดิมที่เรากู้มาแล้วก่อนที่จะกู้ 1 ล้านล้านบาทเพิ่มในปีนี้ กำหนดไว้ที่ 290,000 ล้านบาท และยังมีความผูกพันที่จะต้องให้เงินอุดหนุนกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอีก 260,000 ล้านบาท มีงบผูกพันที่มีการก่อหนี้มาก่อนหน้าปี 2564 ที่จะต้องดำเนินการใช้จ่ายต่อโดยที่เเก้ไขอะไรไม่ได้แล้วอีกราว 300,000 ล้านบาท 

จึงทำให้งบประมาณทั้งก้อน 3.3 ล้านล้านบาทนี้ มีส่วนที่เราจะสามารถนำมาใช้ได้จริงเพื่อเเก้ปัญหาโควิด-19 นี้ เพียงแค่ 960,000 ล้านบาท หรือว่า ไม่ถึง 1 ใน 3 ของงบประมาณแผ่นดินเท่านั้น

กระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564

A close up of a screen

Description automatically generated
กระบวนการจัดทำงบประมาณประจำปีปีงบประมาณนับไม่เหมือนกับปฏิทินทั่วๆ ไป ปีงบประมาณนั้นจะเริ่มจากเดือนตุลาคมและสิ้นสุดลงในเดือนกันยายนของปีถัดไป 

กระบวนการการจัดทำงบประมาณของปี 2564 นั้น เริ่มต้นตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2562 ซึ่งในตอนนั้นยังไม่มีสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ตามกระบวนการงบประมาณปกติ คณะทำงานต่างๆ ก็จะทำการทบทวนและก็วางเเผนงบประมาณของปีต่อๆ ไป ใช้เวลาประมาน 3 เดือน จากนั้นก็จะส่งมาให้สำนักงบประมาณในการจัดทำงบประมาณอีกประมาน 1 เดือน สำนักงบประมาณใช้เวลาพิจารณาประมาน 3 เดือน แล้วก็จะส่งให้กับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ซึ่งตอนที่ ร่าง พ.ร.บ ฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)  การแพร่ระบาดนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้มีการปรับปรุงครั้งที่ 1 ใช้เวลาประมาน 7 วัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ละกระทรวงยังคงงบประมาณเท่าเดิม มีการปรับปรุงภายในกระทรวงเล็กน้อย เป็นตัวเงินเพียงแค่ 5,000 ล้านบาทเท่านั้น 

แต่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนั้นก็ผ่านเข้าสู่กระบวนการถัดๆ ไป มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และนำรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมานำเสนอให้กับที่ประชุม ครม.  และเมื่อ ครม.ต้องมาพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้อีกครั้ง ก็เห็นแล้วว่าจะต้องมีการปรับปรุงครั้งที่ 2  ซึ่งในครั้งนี้ ครม. ได้มีมติออกมาว่า ต้องมีการตัดลดรายจ่ายประจำที่ไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการอบรมสัมมนาต่างประเทศ การจ้างที่ปรึกษา งบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ให้ลดลง 25% และต้องมีการตัดรายจ่ายลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนที่เป็นการลงทุนแบบปีเดียวเสร็จ ให้ลดลง 50% 

มติ ครม. ในครั้งนั้นนำมาสู่ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ที่สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณา ผลจากการตัดงบประมาณในครั้งนั้นทำให้เรามีงบประมาณรายการใหม่เกิดขึ้น ซึ่งปีนี้จะเป็นปีแรกที่มีรายการใหม่ขึ้นมาในงบกลางที่ชื่อว่า “ค่าใช้จ่ายในการบรรเทาเเก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019” โดยเพิ่มขึ้นมา 4 หมื่นล้านบาท แต่ว่างบประมาณในส่วนนี้เราก็ยังไม่รู้ว่าจะมีวิธีการอยางไรบ้างในการนำไปใช้จ่าย 

ภาพรวมของงบประมาณปี 2564 แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากปีก่อนหน้าเลย งบประมาณปี 2564 มีมูลค่า 3.3 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นรายจ่าย ส่วนรายรับก็จะมาจากรายได้ จากภาษีอาการ จากการขายสินค้าและบริการของรัฐ จากรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ส่งเงินกลับคืนสู่คลัง  และปีนี้เนื่องจากว่าเศรษฐกิจไม่สู้ดี การประมาณการณ์รายได้ที่รัฐจะเก็บได้นั้นก็จะลดลงจากปีก่อนหน้าเป็นที่แน่นอน และส่วนที่เหลือเราจึงต้องกู้โดยปริยาย เพื่อให้เราสามารถใช้เงินได้ครบ 3.3 ล้านล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุล 

ในปีนี้รายได้ที่คาดว่าจะเก็บได้อยู่ที่ประมาน 2.67 ล้านล้านบาท ทำให้เราต้องกู้เงินเพิ่มอีก 623,000 ล้านบาท เห็นว่าตอนที่เรากังวลเรื่องเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท เราก็กังวลกันมากว่าหนี้สาธารณะของประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไร แต่สิ่งที่เราลืมคิดกันไปคือว่า ทุกๆ ปีเวลาที่เราจัดทำงบประมาณเราก็มีการกู้เงินอยู่แล้ว หากแต่ในปีนี้เป็นปีที่พิเศษก็คือว่าเรามีการกู้เงินในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากว่ารายได้ที่จัดเก็บได้น้อยลงอย่างมีนัยยะสำคัญ 

รายรับของเรา รับเงินจากการจัดเก็บภาษีส่วนใหญ่รวมแล้วเกือบ 90% ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ทุกๆ ครั้งที่เราไปซื้อของ หรือการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) ไม่ว่าจะเป็น ภงด. 90 หรือ 91 ตรงนั้นก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งซึ่งจัดเก็บได้อยู่ที่ประมาน 37% เท่านั้น เเม้ว่าภาษีเงินได้นั้นจะมีคนจ่ายอยู่เพียงแค่ไม่เกิน 10 ล้านคน แต่ว่าทุกคนได้จ่ายภาษี ผ่านภาษีการขาย คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และที่สำคัญในการเสี่ยงโชคซื้อสลากกินแบ่งจากรัฐบาลทุกๆ เดือน คุณก็ได้มีส่วนจ่ายเงินเข้าสู่รายได้ของรัฐ เพราะว่ารายได้จากสำนักงานการสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้น เป็นรัฐวิสาหกิจที่ส่งเงินเข้าคลังมากที่สุด

ดังนั้น ไม่มีเหตุผลอะไรที่คุณจะไม่สนใจงบประมาณประจำปีนี้ 3.3 ล้านล้านบาท เพราะทุกๆ คนได้มีส่วนร่วมที่จะเป็นเจ้าของเงินที่จะนำไปใช้เป็นงบประมาณเเผ่นดินในครั้งนี้

A close up of a sign

Description automatically generated

ข้อสังเกตงบประมาณปี 2564

งบประมาณปี 64  มีข้อสังเกตที่น่าสนใจ ดังนี้ 

ข้อที่ 1 ยังไม่เห็นว่ารัฐบาลกำลังจะนำประเทศไทยไปสู่ทิศทางใด

งบประมาณปี 2564 ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลจะทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้นได้อย่างไร และจะทำให้เราสามารถตามทันกระเเสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลักยุคโควิด-19 ได้อย่างไร เรามองไม่เห็นจากงบประมาณว่า รัฐบาลจะนำพาประเทศไทยหลังโควิด-19 ไปในทิศทางใด ไม่มีการพูดถึงเเผนการที่จะนำไปสู่การเเก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ไม่มีการพูดถึงเเผนที่จะนำไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่จะนำไทยให้ไปอยู่ในห่วงโซ่การผลิตของโลก (Global Supply Chain)

ข้อที่ 2 งบประมาณปี 2564 ไม่ได้มีความแตกต่างกับปีงบประมาณปกติแต่อย่างใด 

การจัดทำงบประมาณนั้นควรจะต้องเป็นการจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์ (Zero-Base Budgeting) คือ การจัดทำงบประมาณโดยเริ่มจากศูนย์ โดยไม่เอางบประมาณจากปีที่แล้วมาดู ต้องมาพิจารณากันใหม่ว่า โครงการใดมีความสำคัญมาก โครงการใดมีความสำคัญน้อย ก็จะได้รับงบประมาณลดต่ำลงมา และโครงการใดที่ไม่มีความสำคัญก็ต้องตัดทิ้งไปเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานะการณ์โควิด-19 แบบนี้ ยิ่งมีความคาดหวังว่างบประมาณในปีนี้จะต้องแตกต่าง และจะนำเราก้าวข้ามผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้ แต่พอลองมาดูในรายละเอียด เรากลับพบว่า แทบไม่มีอะไรแตกต่างไปจากงประมาณในปีปกติเลย

อันดับของกระทรวงที่ได้งบประมาณสูงสุด 10 อันดับแรก ไม่มีความเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้นจากงบประมาณปี 2563 เเม้ว่าจะโอนงบประมาณแล้วก็ตาม ก็ยังเป็นกระทรวงศึกษาธิการที่ได้งบประมาณสูงสุด รองลงมาเป็นกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลังอาจจะได้อันดับสูงขึ้นเนื่องจากว่าหลังจากที่มีการโอนงบประมาณมีการตัดงบในส่วนที่ต้องชำระคืนเงินต้นของเงินกู้ กระทรวงกลาโหมก็ยังอยู่ในอันดับที่ติดอันดับ 1 ใน 5 เหมือนเดิม แล้วก็ตามมาด้วยกระทรวงคมนาคม สิ่งเหล่านี้ทำให้เราเห็นว่างบประมาณปี 2564 ไม่ได้สะท้อนการเเก้ปัญหาโควิด-19 เเม้แต่น้อย 

A close up of a sign

Description automatically generated

โครงการก็ยังเป็นโครงการเดิม เป้าหมายยังเป็นเป้าหมายเดิม ตัวชี้วัดก็เป็นตัวชี้วัดเดิม หน่วยงานที่จะต้องมีความสำคัญในช่วงเวลานี้ที่ช่วยทำให้เกิดการจ้างงานหรือว่าช่วยเหลือแรงงาน อย่างกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน หรือว่ากรมพัฒนาฝีมือแรงงานกลับถูกตัดลดงบประมาณลง 

การจัดวางตำแหน่งแห่งที่ (Position) ของประเทศไทยในห่วงโซ่การผลิตโลก (Global Supply Chain) ต้องพูดถึงอุตสาหกรรมเเห่งอนาคต เเม้ในงบประมาณปี 2564 จะมีเเผนงานบูรณาการอุตสาหกรรมเเห่งอนาคต ที่พูดถึงการผลิตอาหาร อุตสาหกรรม เครื่องมือการเเพทย์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ แต่ทั้งหมดไม่ได้มีอะไรใหม่และตอบโจทย์ประเทศไทยหลังโควิด-19 เลยเเม้แต่น้อย 

อุตสาหกรรมอาหารไม่มีการพูดถึงการตั้งมาตฐานความปลอดภัยทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดเชื้อโควิด-19 เครื่องมือการเเพทย์มีการส่งเสริมให้กับบริษัทเพียงแค่ 40 บริษัท ส่วนอุตสาหกรรมยานยนต์ก็ยังพูดถึงเรื่องเดิมๆ ในการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ ไม่มีการพูดถึงรถยนต์ไฟฟ้าหรือว่าทางออกจากวิกฤตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่ตอนนี้กำลังประสบวิกฤติอย่างหนัก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไม่ได้มีเเผนการรองรับการท่องเที่ยวหลังยุดโควิด-19 ที่นักท่องเที่ยวจะลดลงอย่างมากและไม่กลับมาจนถึงปี 2565 ซ้ำยังคงตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นอยู่ถึง 8% ขณะที่ด้านการศึกษาก็ไม่มีการพูดถึงการเตรียมความพร้อมสถานการณ์หลังยุคโควิด-19 ที่แต่ละสถานศึกษาต้องจัดให้มีการรักษาระยะห่างทางสังคมแต่ละโรงเรียนแต่ละห้องเรียนจะมีการรับเด็กได้น้อยลงไม่มีการจัดสรรงบประมาณที่จะจัดอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะทำให้การรักษระยะห่างนั้นเป็นไปได้ จึงไม่แปลกใจที่เราเห็นข่าวโรงเรียนต่างๆ เอากล่องกระดาษ เอากล่องนม มาทำเป็นฉากกั้น เพราะไม่มีงบประมาณ 

ในขณะที่กระทรวงกลาโหม เรือดำน้ำก็ยังคงอยู่ทั้งๆ ที่โครงการนี้ถูกตัดไปแล้วทั้งโครงการเมื่อมีการโอนงบประมาณปี 2563 ทำให้กระทรวงกลาโหมสามารถโอนงบประมาณกลับเข้าสู่งบกลางได้สูงถึง 17,000 ล้านบาท หากแต่พอมาดูในงบประมาณปี 2564 กลับพบว่ามีการจ่ายเงินงวดที่ 2 ของเรือดำน้ำ เท่ากับว่างบประมาณฉบับนี้ยังไม่ได้มีการปรับปรุงเเก้ไขใดๆ จากการที่มีการโอนงบประมาณเลยเเม้แต่น้อย 

นอกจากนี้ก็ยังมีงบประมาณที่ลงสู่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่พอลองไปดูในรายละเอียดพบว่า โครงการต่างๆ ที่มีหน้าตาเหมือนกับโครงการที่มาขอเงินจากแผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ลองดูตัวอย่างโครงการเหล่านี้ที่ถูกนำมาจากเอกสารงบประมาณที่จัดสรรให้กับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เราพบว่าทั้งชื่อโครงการและรายละเอียดโครงการที่ปรากฏเป็นชื่อเดียวกัน รายละเอียดแบบเดียวกันเป๊ะ 

เช่น โครงการปรับปรุงถนนเป็นถนนลาดยาง เเอสฟอลติค คอนกรีต ที่หมู่ที่ 5 ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโครงการของจังหวัดสุพรรณบุรี พอไปดูในโครงการฟื้นฟู ก็มีการยื่นขอปรับปรุงถนนเป็นถนนลาดยาง เเอสฟอลติค คอนกรีต หมู่ที่ 5 ตำบลดอนมะเกลือ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เช่นเดียวกัน  หรือ โครงการก่อสร้างกำแพงกันดินที่จังหวัดนนทบุรี ที่สายแยกทางหลวงหมายเลข 346 บ้านคลอง 500 ใช้งบประมาณ 14.5 ล้านบาท พอลองไปดูโครงการจากเเผนฟื้นฟูก็มีโครงการแบบเดียวกัน โครงการก่อสร้างกำแพงกันดินทีแยกทางหลวงหมายเลข 346 บ้านคลอง 500 อีกเช่นเดียวกัน

A picture containing screenshot, computer

Description automatically generated

แน่นอนว่าร่าง พ.ร.บ ฉบับนี้จะถูกปรับปรุง เมื่อผ่านชั้นกรรมาธิการอาจจะมีการถูกตัดโครงการบางโครงการทิ้งไป ดังนั้น ก็เลยเป็นแรงจูงใจให้จังหวัดต่างๆ ให้หน่วยงานต่างๆ ต้องเสี่ยงโชคทั้งสองทาง เพื่อลุ้นว่าจะได้เงินจากงบประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท หรือจะได้งบจากงบฟื้นฟู 4 แสนล้านบาท 

ไม่น่าจะแปลกใจที่งบประมาณประจำปีของประเทศเรามีแต่การสร้างถนนเช่นเดียวกัน เนื่องจากหน่วยงานที่เป็นผู้พิจารณาเเผนงานฟื้นฟู 4 แสนล้านบาท ซึ่งก็คือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวกันกับหน่วยงานที่จัดทำงบประมาณสำหรับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เราก็เลยจะเห็นโครงการที่หน้าตาคล้ายๆ กัน และคาดเดาว่าโครงการเหล่านี้ที่จะผ่านการกลั่นกรองของสภาพัฒน์ และก็กลายมาเป็นเเผนงานฟื้นฟู 4 แสนล้านบาท อีกเช่นเดียวกัน 

ลองไปดูโครงการต่างๆ ที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดขอมา จะมีชื่อโครงการหลายๆ โครงการ เช่น โครงการส่งเสริมการเกษตร โครงการส่งเสริมการพัฒนาสังคม โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยว โครงการส่งเสริมความสามารถในการเเข่งขันทางการค้า ซึ่งพอลงไปดูในรายละเอียดกลับพบว่า จังหวัดและกลุ่มจังหวัดของบประมาณในการส่งเสริมการเกษตรด้วยการตัดถนน ของบประมาณส่งเสริมและพัฒนาสังคมด้วยการซ่อมถนน ส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการปรับปรุงถนน และส่งเสริมความสามารถในการเเข่งขันและการค้าด้วยการตัดถนน ก็ไม่น่าแปลกใจที่เราเห็นในเเผนงานฟื้นฟูว่ามีแต่การตัดถนนนั้น เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับปีงบประมาณ 2564 และไม่ใช่แค่แผนบูรณาการเศรษฐกิจฐานราก เเผนบูรณาการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายเเดน งบกว่าครึ่งก็เป็นการตัดถนน แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกก็มีการตัดถนน เเผนบูรณาการระดับภาคก็เป็นการตัดถนนและมีเเผนบูรณาการโลจิสติกและเครือข่ายคมนาคม ซึ่งเป็นการตัดถนนล้วน ๆ 

ถ้ามาดูสาเหตุว่าทำไมหน่วยงานต่างๆ ถึงไม่ยอมที่จะรื้องบประมาณตัวเองส่วนที่ไม่จำเป็น และนำไปใช้ในการเเก้ไขปัญหาโควิด-19 ปัญหาที่สำคัญก็คือ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ได้ถูกกำหนดโดยกฎหมายไว้แล้วว่า หน่วยงานต่างๆจะต้องทำเเผนงาน เเผนการดำเนินการและงบประมาณให้สอดคล้องกับเเผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และยังมีเเผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเเห่งชาติ เเผนปฏิรูปภาครัฐ เเผนแม่บท 5 ปี นโยบายความมั่นคงเเห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และแผนหลักอื่นๆ อีกมากมาย 

ในการจัดทำงบประมาณหน่วยงานต่างๆ จึงต้องพยายามอธิบายให้ได้ว่า งบประมาณของตัวเองนั้นสอดคล้องกับเเผนที่ว่ามาทั้งหมดนั้นอย่างไร ทำให้สุดท้ายแล้วการเเก้งบประมาณ รื้องบประมาณ ภายในระยะเวลาอันสั้นนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ผลสุดท้ายเราจึงได้ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณปี 2564 ที่มีหน้าตาเหมือนเดิมไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ไม่มีการพูดถึงการเเก้ไขปัญหา ที่สะท้อนสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศได้เลย

ในเเผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีมีคำว่า โรคระบาดปรากฏอยู่ 2 คำ อยู่ในส่วนของปัจจัยแนวโน้วที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถ้าปัญหาแบบนี้ไม่ปรากฏอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เหล่าหน่วยงานราชการต่างๆ ก็คงมีความยากลำบากที่จะสามารถเขียนแผนงบประมาณของตัวเองให้สอดคล้องกับเเผนของชาติได้ 

นอกจากเราจะต้องรับมือกับวิกฤตเศรฐกิจซึ่งเป็นเรื่องใหม่ แต่ทว่าปัญหาเดิมๆ ที่เป็นความไร้ประสิทธิภาพของระบบราชการนั้นก็ยังคงอยู่ ยังไม่มีการปรับปรุงเเก้ไขแต่อย่างใด เรายังคงเห็นปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า งบประมาณที่รวมศูนย์ ทำให้ความคืบหน้าในการกระจายอำนาจ อยหลังลงคลอง เรายังเจอความซ้ำซ้อนของเเผนงานต่างๆ เเม้ว่าจะเป็นการบูรณาการเเผนงานแล้วก็ตาม 

ข้อที่ 3 วิสัยทัศน์และภาวะผู้นำของหัวหน้ารัฐบาลนี้

จากกระบวนการงบประมาณที่ได้เล่าไปแล้ว พบว่าร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ฉบับนี้ ได้มีการสั่งให้ปรับปรุงถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้ทำให้หน่วยงานต่างๆ นั้น ปรับปรุงเเก้ไขให้งบประมาณสอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เป็นจริงได้เลย เหล่านี้อาจจะต้องอาศัยความเด็ดขาดและวิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรี เพื่อที่จะชี้นำให้หน่วยงานต่างๆ ทำงบประมาณแบบใหม่ที่สอดคล้องแล้วก็เเก้ไขให้ตอบโจทย์ของประเทศหลังโควิดได้

ข้อเสนอที่จะช่วยตอบโจทย์ประเทศไทย 

ข้อเสนอที่จะตอบโจทย์ประเทศไทยในยุคหลังโควิด-19 มีทั้งหมด 4 ข้อเสนอด้วยกัน 

1. ต้องนิยามความมั่นคงในรูปแบบใหม่ จากความมั่นคงในด้านการทหารและการป้องกันประเทศสู่ความมั่นคงในด้านสาธารณสุข และชีวิตประชาชน ที่ผ่านมางบประมาณในด้านความมั่นคงนั้นจะได้รับการจัดลำดับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ถูกจัดอันดับความสำคัญไว้สูงมาตลอด แต่ว่าเมื่อยุคเปลี่ยนไป สถานการณ์เปลี่ยนไป เราเห็นแล้วว่าประเทศที่ขาดความมั่นคงด้านสาธารณสุข จะต้องเจอกับปัญหาความขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นยา เครื่องมือการเเพทย์ และอุปกรณ์ทางการเเพทย์ต่างๆ เมื่อเกิดวิกฤตการระบาดของโรคต่างๆ เกิดขึ้น ทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนมุมมองของความมั่นคงแบบเดิมมาสู่มุมมองความมั่นคงทางด้านสาธารณสุข ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นคงในชีวิตของประชาชน 

2. ต้องจัดงบประมาณที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ด้วยสถานการณ์เศรฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เราต้องการงบประมาณเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทย เราไม่สามารถที่จะเดินนโยบายตามปกติอีกต่อไป  เนื่องจากโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ห่วงโซ่การผลิตต่างๆ มีการปรับเปลี่ยนฐานการผลิตจากประเทศหนึ่งสู่ประเทศหนึ่ง ทำให้เราต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจ SMEs ที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้เนื่องจากปัญหาการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่จะไม่มีนักท่องเที่ยวกลับมาในระดับเดิมได้ในอีก 3 ปีข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นภาคการเกษตรที่การสร้างมูลค่าเพิ่มแบบเดิมๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์ของโลกอีกต่อไป ทำให้เราต้องใช้งบประมาณ ต้องทุ่มเททรัพยากรเพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อนำไปสู่โอกาสต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังยุคโควิด-19

3. ต้องการงบประมาณสวัสดิการสังคมที่ถ้วนหน้าและทั่วถึง วิกฤตครั้งนี้ได้ทำให้เราเห็นแล้วว่า ตาข่ายทางสังคม หรือที่เราเรียกกันว่า social safety net ของประเทศไทยนั้นบอบบางแค่ไหน เพียงแค่มีอะไรเบาๆ มากระทบ คนที่เคยอยู่ในชนชั้นกลางก็ตกลงสู่ชนชั้นล่างได้อย่างรวดเร็ว เราเห็นแล้วว่า แรงงานนอกระบบนั้นไม่มีความคุ้มครองใดๆ ทางสังคมเลย

4. ต้องเพิ่มประสิทธิภาพของภาครัฐ ด้วยการกระจายอำนาจจากส่วนกลางลงสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความยึดโยงกับประชาชน เราต้องการรัฐส่วนกลางที่เล็กลงแต่มีประสิทธิภาพผ่านการใช้รัฐบาลดิจิทัล หรือว่าการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพ

ทั้งหมดนี้คือ ข้อเสนอที่จะพาประเทศไทยหลุดพ้นจากวิกฤตโควิด-19 ครั้งนี้ได้ 

ย้อนฟังการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 โดยพรรคก้าวไกลได้ที่นี่

Author

คณะก้าวหน้า
“เราจะเดินหน้าทำงานทางความคิด สร้างความเป็นไปได้ในการปลุกเอาประชาชนคนส่วนใหญ่ของประเทศ จากจำนวนนับ จากที่เคยเป็นเพียงวัตถุ ..ให้กลายเป็นผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศอย่างแท้จริง”